เป็นเพราะ “Stat”…
เพราะตัวเลขบางอย่าง บอกเราเป็นนัยๆว่ามีความน่าสนใจอะไรบางอย่างซ่อนอยู่… สเน่ห์ของสถานที่ท่องเที่ยวที่มีจุดขายคือ ความเศร้า ความทุกข์ทรมานแห่งนี้ มันดึงดูดให้นักเดินทางนับแสนที่แสวงหาอดีตตามค้นหา ทริปนี้จึงขอเปิดมาด้วยการเอาสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวที่ไปเยือน”Hellfire Pass” เอามาโชว์กันว่ายังคงมีคนเป็นจำนวนมากที่คิดเหมือนกัน และอีกเยอะมากๆที่สนใจ”ช่องไฟนรก”แห่งนี้และเค้าพร้อมที่จะตามรอยประวัติศาสตร์ที่เจ็บปวดนี้แม้ว่าจะต้องเหนื่อยเดินแดดร้อนครึ่งข่อนวันก็ตาม….
ขอให้คุณนึกภาพตาม นับจากนี้….
ทำไมถึงเรียว่า ช่องไฟนรก
HELLFIRE PASS “ช่องเขาขาด”หรือ”ช่องไฟนรก”พิพิธภัณฑสถานแห่งความทรงจำ ที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า (เส้นทางรถไฟสายมรณะ) ที่กองทัพญี่ปุ่นได้จัดการก่อสร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเป็นช่องทางในการเดินทางเข้าไปบุกประเทศอินเดีย และโจมตีกองทหารอังกฤษ เป็นเส้นทางที่เต็มไปด้วย หิน ภูเขา หน้าผา หุบเหว ขวางเส้นทาง ในการก่อสร้างจึงต้องขุดให้เป็นช่องสำหรับวางราง รถไฟให้วิ่งผ่านได้ ช่องเขาขาดหรือช่องไฟนรกเป็นจุดที่ใหญ่ที่สุดและยากที่สุดบนเส้นทางรถไฟสายนี้ การขุดเจาะและก่อสร้างนั้นมีความยากลำบากเป็นอย่างมาก นำพามาซึ่งความเจ็บช้ำ โหดร้ายทารุณต่อคนงานหรือเชลยที่ถูกเกณฑ์มาด้วยความโหดร้ายกว่า 12,000 ชีวิต มีทั้งชาวออสเตรเลีย อังกฤษ เยอรมัน อเมริกัน และกว่า 60,000 ชีวิตของแรงงานชาวเอเชียที่ถูกบังคับให้ทำงานแบบหนักหน่วงไม่มีหยุดพักเพื่อจะตัดช่องหินผ่านภูเขา และสร้างทางรถไฟเป็นระยะทางรวมกว่า 415 กิโลเมตรทั้งๆ ที่แทบจะไม่มีเครื่องมือทุ่นแรงใดๆ เลย เชลยศึกและแรงงานส่วนใหญ่ต้องทำงานอย่างน้อยวันละ 18 ชั่วโมง และมีอาหารเพียง 2 มื้อ คือ ข้าวกับผักดองประทังชีวิต ความอดอยาก การทารุณ ภัยธรรมชาติ และโรคระบาดต่างๆที่คร่าชีวิตพวกเค้าอย่างไร้ความปราณี จึงทำใหหุบเขาแห่งนี้ถูกเรียกว่า “ช่องไฟนรก”
ที่มาของพิพิธภัณฑสถานแห่งความทรงจำ
พิพิธภัณท์นี้เกิดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่เก็บรวบรวมเนื้อหาและภาพต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ของช่องเขาขาด จากการร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลออสเตรเลีย เนื่องจากพวกเราผู้เข้าชมไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ จึงเป็นที่สงสัยว่า แล้วเค้าเอางบประมาณการบำรุงรักษาดูแลพิพิธภัณท์นี้มาจากไหน คำตอบคือ รัฐบาลออสเตรเลียค่ะ
นักท่องเที่ยวสามารถเดินเยี่ยมชมสถานที่จริงผ่านเส้นทางจริง สถานที่จริงที่คดเคี้ยวลงไปสู่ช่องเขาที่มีขนาดกว้าง 17 เมตร ยังคงหลงเหลือร่องรอยของทางรถไฟ ร่องรอยการระเบิดหินในระหว่างการก่อสร้าง ยิ่งเดินเท้าเข้าไปชมเส้นทางนี้ลึกมากเท่าไรก็จะยิ่งรู้สึกได้ถึงความโหดร้ายทารุณอันเป็นที่มาของสถานที่ที่น่าสนใจและสำคัญต่อประวัติศาสตร์แห่งนี้ค่ะ….
Mini Theatre เป็นโรงภาพยนตร์จำลองเล็กๆที่อยู่ในพิพิธภัณท์ ฉายในรูปแบบขาว-ดำ ซึ่งถ่ายทำจากเหตุการณ์จริงในระหว่างการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะ
– มีเครื่องมือบรรยายและหูฟังบริการฟรีค่ะ แต่มีค่ามัดจำ 200 บาทต่อเครื่อง มีให้เลือก 4 ภาษา ได้แก่ ไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น และ เยอรมัน
– การเดินไปดูสถานที่จริงจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ถ้าอ่านและฟังตามเครื่องบรรยายด้วยจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง
เอกสารการเยี่ยมชมพิพิธภัณท์
ทางเดินตามทางรถไฟช่องเขาขาด-สถานีหินตก
จากภาพก่อนหน้านี้ค่ะ เราก็เดินมาด้านหลังของพิพิธภัณฑ์ จะมีบันไดเดินลงไปเส้นทางรถไฟสายมรณะ ซึ่งพื้นที่ก็ถูกปรับเปลี่ยนจากในอดีตมาเพื่อให้เราเดินชมได้สะดวกขึ้น เดินจากช่องเขาขาดไปจนถึงสถานีหินตก เป็นทางรถไฟเดิมซึ่งบางช่วงยังเหลือร่องรอยของทางรถไฟ ไม้หมอน และเหล็กสกัดให้เห็นนะ ยกเว้นตรงสะพานหินตกซึ่งสร้างหุบเหวลึกชันไม่เหลือร่องรอยให้เห็นแล้ว ในอดีตสร้างตัวสะพาน มันยากมาก ตัวสะพานพังลงมา 3 ครั้งมีคนเสียชีวิตไปตั้งหลายคน ระหว่างทางเดินจะมีป้ายอธิบายเป็นระยะๆ การเดินไปกลับเมื่อยมากค่ะขอบอก ยิ่งกว่าวอคแรลรี่ปั่นรวมกันลูกเสือเนตรนารีรวมกัน ถ้าเดินเต็มๆใช้เวลาราวๆ 4 ชม. กว่า
ทางลัดมีไม๊?
มีจ่ะ แต่ก็ใช้เวลา 1 ชม.กว่าอยู่ดีนะคะ ทางเดินก็เหมือนๆทางรถไฟทั่วๆไปมีก้อนกรวดใหญ่ๆ เดินๆไปก็ แสบๆคันๆมันส์มันส์ปนกันไป เริ่มเมื่อยก็เงยหน้าชมทัศนียภาพป่าไผ่ มีต้นไม้ใหญ่ตลอดทาง บรรยากาศร่มรื่นดี ถ้าอากาศไม่ร้อน ถ้าไม่เมื่อย ถ้าไม่เหนื่อย ถ้าไม่บ่น ถ้า…… ถ้าา……. ถ้า…. 555
แนะนำว่าใครสนใจไปชิงถ้วยพระราชทานแรลลี่ไปซ้อมที่นี่ได้ ควรใส่รองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าพื้นแข็ง ร่ม หมวก ครีมกันแดด แว่นกันแดด และเตรียมน้ำดื่มไปด้วยนะค้ะเพราะตลอดทางไม่มีร้านค้าเลยจ่ะ. ถ้าไม่ได้เตรียมไปที่พิพิธภัณฑ์มีขายเป็นหมวกที่ระลึกแบบนี้นะฮะ…
เห็นแบบนี้แล้วก็อดไม่ได้ที่จะชวนคนไทยไปเที่ยวกันนะจ๊ะ จะได้รำลึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ว่าทุกคนจะต้องดิ้นรนชีวิตรอดยังไงบ้าง กว่าจะมาเป็นประเทศไทยอย่างทุกวันนี้ และที่สำคัญก็เดินทางไม่ไกลเลย สามารถไปเที่ยวกันได้ในวันเดียวนะคะไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร ระหว่างทางก็มีอะไรอะไรให้แวะตลอดเวลา… 555+
จาก กรุงเทพมหานครจะใช้เวลารวมประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่งบวกลบนะคะ ผ่าน อ.เมืองกาญจนบุรีเข้าสู่อำเภอไทรโยคโดยเส้นทางหลวงหมายเลข 323 (กาญจนบุรี-ไทรโยค-ทองผาภูมิ) เมื่อมาถึงหลักกิโลเมตรที่ 64-65 จะเห็นกองการเกษตรและสหกรณ์กองกำลังทหารพัฒนาอำเภอไทรโยคทางด้านซ้ายมือ ซึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งความทรงจำ ช่องเขาขาดจะอยู่ข้างในนั้น เราต้องแลกบัตรด้วนนะ เพราะเป็นสถานที่ราชการ…
ที่ตั้ง : กองการเกษตรและสหกรณ์กองกำลังทหารพัฒนา อ.ไทรโยค ถนนแสงชูโต อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
พิกัด : 14.354457, 98.957526
เบอร์ติดต่อ : 0817542098,0818147564,0344531347
เวลาทำการ : 9.00-16.00 น. (ปิดวันคริสมาสต์)
ค่าธรรมเนียม : ไม่มีค่าธรรมเนียม
ช่วงเวลาแนะนำ : ตลอดทั้งปี
ไฮไลท์ : เส้นทางช่องเขาขาดที่เกิดจากแรงงานฝีมือเชลยเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามและความโหดร้ายที่เกิดขึ้นในช่วงสงคราม
กิจกรรม : เดินชมพิพิธภัณฑ์ และเส้นทางช่องเขาขาด
แกลลอรี่รูปภาพ