BMA Top Talent 2013-2016 ข้าพเจ้าก็กวาดเรียบหมดทุกปี งานนี้เป็นงาน”เฟ้นหาเด็กเก่งแห่งกรุงเทพมหานคร จัดการแข่งขันเป็นประจำทุกปีโดยกระทรวงศึกษาธิการร่วมกับกรุงเทพมหานคร”
งานนี้ต่างจากงานอื่น คือสิ่งที่คอนโทรลยากและลำบากที่สุดนั้นไม่ใช่ script ไม่ใช่ลำดับพิธีการ ชื่อผู้ใหญ่ก็มีบ้างแต่ไม่เยอะชื่องานก็จะเดิมๆเช่น กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
เริ่มเลยนะ…
- เปลี่ยนตั้งแต่คำทักทาย อีเว้นทั่วๆไป เราก็จะใช้ “สวัสดี ค่ะแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ขอต้อนรับท่านเข้าสู่งาน…” ก็ใช้เป็น “สวัสดีค่ะน้องๆ ต้อนรับน้องๆเข้าสู่การแข่งขัน…”
- ดิฉัน “นางสาว…. รับหน้าที่เป็นพิธีกรค่ะ” ก็เปลี่ยนเป็น”พี่ชื่อ พี่ปูเป้นะคะ”แล้วก็ถามสารทุกข์สุกดิบไป เดินทางมายังไง ไกลไหม เตรียมตัวมายังไงกันบ้าง ตื่นเต้นมั้ยคะ ใครมาจากโรงเรียนอะไรไหนขอดูหน่อย”
- แต่ก่อนจะเริ่มกิจกรรมใดๆ ป้าก็จิละลายพฤติกรรมเด็กด้วยการ ให้เขาปรบมือมั่ง หรือให้ทุกคนเปล่งเสียงออกมาดังๆ ทำให้พร้อมๆกันมั่ง ถามเรียงตามโรงเรียนก็ได้นะ หรืออาจจะแซวน้องคนใดคนนึง นิดๆหน่อยๆ. ให้ได้มีเสียงหัวเราะแล้วรู้สึกผ่อนคลาย เช่น “โอ้โห พี่เป้ได้ยินคุณครูของน้อง บอกว่าน้องเตรียมตัวมาดีมาก. ตั้งแต่รถบัสออกมาจากโรงเรียน ก็นั่งสมาธิ เตรียมพร้อมมาตลอดทาง…. อ้ออ นั่นเรียกว่า หลับ นี่เอง!”
- งานแบบนี้ จะปวดหัวมากคือชื่อโรงเรียน นี่ห้ามผิดเด็ดขาด เราสามารถทนชื่อโรงเรียนกับอาจารย์เค้าได้ แล้วก็เด็กสมัยนี้ชื่อยาก แปลก อ่านปะหลาด เช่น ดช.ปฤณ ดญ.พรพฤต โอ้ย เรียกปวดหัว…
- ในงานจริง ก็จะต้องมีการซักซ้อมเช่น ขั้นตอนการมอบรางวัล หรือขั้นตอนการลงรายชื่อเข้าแข่งขัน ช่วงนี้จะปวดหัวมากคือเด็กจะไม่ฟังเรา วิธีการแก้คือเราอาจจะไปคุยกับครูกลุ่มของแต่ละโรงเรียน หรือเรียกชื่อเขาเป็นกลุ่มกลุ่มที่จะลงทำการแข่งขัน ให้เรียงลำดับตามนั้น นัดแนะก็จะเริ่มแข่งจริง
วิธีการแก้ปัญหาเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องยากพอสมควร ถ้าใครยังไม่เคยเจอหรือไม่เคยร่วมงานกับเด็ก อาจนึกภาพไม่ค่อยออก ว่าจะวุ่นวายขนาดไหน. มีตัวช่วยที่ดีที่สุดคือครูของเด็กเด็กนั่นแหละ รวมถึงผู้จัดงานเองเราต้องคุยลำดับคิวงานให้เคลียร์ ก็จะลดความปวดหัวหลายหลายอย่างลงไปได้ โชคดีที่เป็นคนรักเด็กอิอิ เลยชอบงานแบบนี้มาก